วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาษาโลโก

ภาษาโลโก (Logo programming language) 


เป็นภาษาโปรแกรมเชิงการใช้งาน (Functional Programming Language) โดยมีรากฐานมาจากภาษาลิสป์ โดยจุดประสงค์ดั้งเดิมในการสร้างก็เพื่อใช้ในด้านการศึกษาในเรื่องหลักการในการเขียนโปรแกรม ภาษาโลโกมักจะถูกเรียกด้วยชื่อ "เต่าโลโก"


ภาษาโลโกถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1967 ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยนาย Wally Feurzeig และ Seymour Papert ตัวภาษาครั้งแรกถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาลิสป์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PDP-1 โดยมีจุดประสงค์ดั้งเดิมคือการแก้ไขปัญหาง่ายๆ ด้วยการใช้ "เต่า" ในการตอบสนองเพื่อค้นหาจุดบกพร่อง
ภาษาโลโกเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2513 เมื่อกลุ่มนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ นำโดย เซย์มัว พาเพิร์ต ได้ทำการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ คล้ายกับของ เกย์ วอลเทอร์ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั่งให้โปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ พวกเขาจึงทำการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่ เรียกว่าภาษา “โลโก” เป็นภาษาที่ง่ายสำหรับเด็ก ช่วยให้เด็กสามารถเขียนคำสั่งให้หุ่นยนต์เต่า (Logo) เคลื่อนที่ไปมาและเปลี่ยนทิศทางตามที่ต้องการ ภาษาโลโกจึงเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับเด็กในการฝึกทักษะทางภาษาคอมพิวเตอร์ และสามารถสร้างงานจากจินตนาการ โดยอาศัยความเข้าใจพื้นฐานของวิชาคณิตศาสตร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาถูก จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปให้สามารถจำลองหุ่นยนต์เต่าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาพกราฟิกเต่า เคลื่อนที่ไปมาบนจอภาพคอมพิวเตอร์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของภาพกราฟิกเต่า มาเป็นภาพสัญลักษณ์สามเหลี่ยม
มีการพัฒนาภาษาโลโกกว่า 999 ชุด แต่ละชุดต่างมีจุดแข็งของตัวเอง ตัวอย่างในการนำไปพัฒนาต่อเช่น MSWLogo ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาแจกฟรีโดยSoftrinic 
และพัฒนาโดยยอร์จมิลล์

ตัวอย่างการใช้งาน
เมื่อเต่าโลโกเดินผ่าน จะเกิดเส้นขึ้นมา โดยผู้ใช้จะเป็นผู้สั่งการทำงานต่างๆ เช่นการเดินตรง หัน 90 องศา โดยคำสั่งในด้านทิศทางต่างๆ จะขึ้นอยู่กับทิศทางของเต่าโลโก
เช่น
FORWARD 100
LEFT 90
FORWARD 100
LEFT 90
FORWARD 100
LEFT 90
FORWARD 100
LEFT 90