วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้อิืนเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย



หลังจากได้ดูคลิปวีดีโอนี้แล้ว อาจจะทำให้เข้าใจว่า นอกจากอินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์แล้ว
มันยังมีความอันตรายอยู่ในตัวด้วย เหมือนกับดาบสองคม

คลิปวีดีโอนี้ทำให้เราเข้าใจว่า อันตรายที่จะเกิดกับเรา หากไม่ใช้อย่างระมัดระวัง

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

การใช้อินเทอร์เน็ต อย่างปลอดภัย

ทันภัยการใช้อินเตอร์เน็ต


การใช้อีเมล์อย่างปลอดภัย

อีเมล์ เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้อีเมล์เพื่อการส่งข้อมูลสำคัญที่ไม่อยากให้บุคคลอื่นล่วงรู้ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้งานอีเมล์ควรทราบนั่นก็คือ อีเมล์ไม่ได้เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ปลอดภัย ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรศึกษาวิธีการต่างๆที่เป็นที่นิยมใช้ในการหลอกลวงผ่านทางอีเมล์และหนทางแก้ปัญหาเพื่อปกป้องอีเมล์ของตนเองต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและทรัพย์สินขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ไม่เปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่ผู้ใช้ไม่รู้จักผู้ส่ง ไม่หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือรหัสบัตรเครดิตบนอีเมล์ปลอม ไม่เขียนข้อความสำคัญลงบนอีเมล์เพราะอาจถูกผู้ไม่หวังดีดักจับหรือแอบอ่านระหว่างทางได้ เป็นต้น
การใช้อีเมล์อย่างปลอดภัย
อีเมล์ เป็นรูปแบบการสื่อสารที่เก่าแก่ที่สุดบนอินเทอร์เน็ต ด้วยจุดประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งติดต่อสื่อสาร หรือการส่งข้อความแบบส่วนตัว การส่งไฟล์ การประกาศหรือประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อีเมล์ไม่ได้เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ปลอดภัย โดยด้านล่างคือคำแนะนำต่างๆในการปกป้องอีเมล์ของผู้ใช้งานต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น

สแปมเมล์ (Spam Mail) หรืออีเมล์ขยะ (Junk mail) คือ อีเมล์ที่ถูกส่งมาถึงผู้รับโดยที่ไม่ได้รับการยินยอมจากผู้รับและมักไม่ปรากฏชื่อที่อยู่ของผู้ส่ง อีเมล์ขยะส่วนใหญ่จะเป็นโฆษณาของสินค้าหรือบริการ หรือลิงค์ที่จะพาผู้รับไปยังเว็บไซต์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการ ทำให้ผู้รับได้รับความเดือดร้อนและเกิดความรำคาญ อีกทั้งยังเสียเวลาในการนั่งลบอีเมล์เหล่านี้ออกจากกล่องข้อความอีกด้วย สแปมเมล์นั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่มักจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือการก่อกวนและสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้ใช้งานอีเมล์คนอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
  • Chain mail คือ อีเมล์ที่มีข้อความภายในเหมือนกับจดหมายลูกโซ่ เนื้อความที่ส่งมาอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ แต่จะลงท้ายว่าให้ผู้รับส่งต่ออีเมล์นี้ไปยังคนรู้จักคนอื่นๆ
  • Bomb mail คือ อีเมล์ก่อกวนรูปแบบหนึ่ง โดยผู้ส่งจะทำการส่งอีเมล์จำนวนมากไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้รับเกิดความเดือดร้อนรำคาญ
  • Hoax mail คือ อีเมล์ก่อกวนในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยอีเมล์เหล่านี้จะมาในรูปแบบของการส่งอีเมล์ที่มีข้อความหลอกลวงหรือเป็นข่าวลวงต่อๆกันไปผ่านทางโปรแกรมรับส่งข้อความหรือในห้องสนทนาต่างๆ
วิธีกำจัดหรือหลีกเลี่ยงสแปมเมล์นั้น สามารถทำได้ง่ายๆดังนี้
1. สังเกตสิ่งผิดปกติจากอีเมล์ที่ได้รับ เช่น ช่วงเวลาที่อีเมล์ถูกส่งมามักจะอยู่ในช่วงเที่ยงคืนถึงตีสี่  และขนาดไฟล์อีเมล์จะมีขนาดเล็ก ข้อความในอีเมล์มีเพียงประโยคสั้นๆ พร้อมแนบลิงค์มาด้วย เป็นต้น
2. หยุดโพสต์อีเมล์แอดเดรสบนเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดต่างๆ เพราะพวกที่ส่งสแปมเมล์มักจะใช้สคริปต์หรือโรบอท (Robot) สแกนเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาอีเมล์แอดเดรส หรืออาจเป็นเว็บบริการดาวน์โหลดฟรีเมื่อกรอกข้อมูลลงลงทะเบียน
3. ใช้อีเมล์แอดเดรสอื่นๆแยกจากอีเมล์หลัก เพื่อคัดกรองและกำจัดสแปม เช่น อีเมล์สำหรับรับข้อความจากเพื่อน สถาบันการเงิน และเว็บบันเทิงต่างๆ จากนั้นตั้งค่าฟอเวิร์ดบัญชีอีเมล์เหล่านี้ไปยังอีเมล์หลัก เมื่อใดที่มีสแปมเมล์ส่งมา ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าสแปมเมล์นั้นถูกส่งมาจากบัญชีอีเมล์ใด และสามารถลบบัญชีนั้นทิ้งไปได้

อีเมล์ที่ไม่มีการยืนยันผู้ส่ง
ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่ทันได้ตระหนักว่ามีผู้คนส่วนหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตได้ทำการปลอมแปลงอีเมล์อย่างง่ายดายโดยการเปลี่ยนโปรไฟล์ระบุตัวตนในอีเมล์ของพวกเขา ซึ่งทำให้ใครก็ตามที่ส่งอีเมล์มาหาคุณ สามารถหลอกลวงว่าตนเองเป็นอีกบุคคลหนึ่งได้ เปรียบเทียบได้เช่นเดียวกันกับเวลาที่คุณส่งจดหมาย คุณสามารถเขียนอะไรลงไปก็ได้ที่หน้าซองตรงบริเวณที่อยู่ที่ให้จดหมายตีกลับ โดยที่จดหมายฉบับนั้นยังคงถึงมือผู้รับ (หากคุณเขียนที่อยู่ของผู้รับถูกต้อง)

อีเมล์หลอกลวง อีเมล์ไวรัส
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ธนาคารหรือแม้แต่สถาบันที่มีชื่อเสียงใดๆ ไม่มีการร้องขอให้ผู้ใช้บริการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับชื่อบัญชีผู้ใช้และพาสเวิร์ด อีกทั้งยังไม่มีการส่งอีเมล์หรือโทรศัพท์เพื่อขอข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น ชื่อบัญชี ผู้ให้บริการ จะไม่ร้องขอให้ผู้ใช้งานเข้าไปในเว็บไซต์เพื่อแก้ไขข้อมูลต่างๆด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อใดก็ตามที่คุณได้รับคำร้องขอเช่นนี้ ขอให้สันนิษฐานได้เลยว่ามันคือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกสร้างขึ้นโดยบุคคลที่สามที่พยายามที่จะขโมยข้อมูลในบัญชีผู้ใช้ของคุณ หนึ่งในโปรแกรมที่ไม่หวังดีนี้ คือ ฟิชชิ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่พบได้ทั่วไป สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานพึงจำเอาไว้นั่นคือ บริษัทที่มีชื่อเสียงเหล่านั้นมีข้อมูลของผู้ใช้หรือลูกค้าอยู่แล้วและไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องร้องขอข้อมูลจากผู้ใช้อีกครั้ง
อีเมล์ที่มีสิ่งที่แนบมาด้วย
ผู้ใช้อีเมล์อาจเคยได้รับอีเมล์ที่มีสิ่งที่แนบมาด้วยจากเพื่อน ซึ่งมีข้อความว่า “เพื่อนคุณได้แนบลิงค์เกมที่สนุกมากๆ” หรือ สิ่งที่จำเป็น น่าสนใจหรืออื่นๆ คอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสสามารถที่จะแฮกเข้าบัญชีผู้ใช้อีเมล์และส่งอีเมล์ประเภทเดียวกันนี้ไปยังเพื่อนๆที่อยู่ในรายชื่อติดต่อของผู้ใช้งานได้เช่นเดียวกัน อีเมล์เหล่านี้ไม่ได้มาจากเพื่อน แต่มาจากไวรัสที่ติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเพื่อนนั่นเอง
ผู้ใช้ควรตรวจเช็คชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งให้แน่ใจก่อนที่จะเปิดหรือคลิกลิงค์ที่แนบมากับอีเมล์ ซึ่งควรตรวจเช็คแบบเดียวกันนี้กับข้อมูลทุกประเภทที่ได้รับ ไม่เฉพาะไฟล์ที่มีนามสกุล .exe เพียงอย่างเดียว เพราะไวรัสสามารถติดมากับไฟล์ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น คลิปวีดิโอ รูปภาพ คลิปเสียง หรือไฟล์เอกสาร นอกจากนี้ควรเลือกใช้โปรแกรมแอนติไวรัสหรือตัวคัดกรองสแปมที่มาพร้อมกับโปรแกรมเพื่อดักจับอีเมล์อันตรายเหล่านี้ ซึ่งโปรแกรมของบางบริษัทจะมีการขึ้นเตือนทุกครั้งที่คุณดาวน์โหลดไฟล์ที่ติดเชื้อหรือโทรจัน อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานไม่ควรไว้วางใจในโปรแกรมแอนติไวรัสหรือตัวคัดกรองสแปมมากจนเกินไป เพราะมันจะสามารถดักจับได้เพียงตัวไวรัสที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้น มันจึงไม่สามารถปกป้องคอมพิวเตอร์จากไวรัสหรือโปรแกรมอันตรายที่มันไม่รู้จักได้ ซึ่งนั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงควรอัพเดตโปรแกรมแอนติไวรัสและตัวกำจัดสแปมในเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ
วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์จากไวรัสที่ติดมากับไฟล์ที่แนบมาในอีเมล์ก็คือ อย่าเปิดไฟล์ที่แนบมาด้วย หากไม่แน่ใจว่ามันถูกส่งมาจากที่อยู่หรือแหล่งที่รู้จักและเชื่อถือได้

อีเมล์สามารถถูกดักอ่านได้เช่นเดียวกับการดักฟังโทรศัพท์
อีเมล์จะเดินทางผ่านเซิร์ฟเวอร์มากมายก่อนที่จะถึงมือผู้รับในที่สุด ผู้ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์สามารถดูอีเมล์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ เนื้อหาหรือไฟล์ที่แนบมาด้วยได้ แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์นั้นๆจะดูแลโดยผู้ให้บริการที่สามารถไว้ใจได้ เพราะระบบอาจถูกโจมตีโดยมัลแวร์หรือโดยลูกจ้างที่ไม่ซื่อสัตย์ หรือหน่วยงานของรัฐที่คอยฉวยโอกาสเรียกดูข้อมูลการติดสื่อสารส่วนตัวของประชาชน
เราสามารถรักษาความปลอดภัยอีเมล์ที่ถูกส่งออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสกัดกั้นหรือถูกดักอ่านได้สองรูปแบบด้วยกันดังนี้ รูปแบบแรก ผู้ใช้งานต้องเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับส่งอีเมล์ที่มีการเปลี่ยนข้อความให้เป็นรหัส และรูปแบบที่สองคือ ผู้ใช้งานจะต้องเปลี่ยนข้อความให้กลายเป็นรหัสด้วยตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้รับสามารถอ่านหรือเข้าใจเนื้อหาในอีเมล์ได้

การเข้ารหัสอีเมล์เพื่อป้องกันการล้วงข้อมูล  
ผู้ใช้อีเมล์อาจใช้คีย์แพร์ (Key-Pair) ในการเข้ารหัสข้อมูลอีเมล์เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล โดยคีย์แพร์คือไฟล์สองไฟล์ที่อยู่แยกกันบนฮาร์ดดิสก์หรือบนยูเอสบี (USBผู้ใช้ต้องมีไฟล์นี้เมื่อต้องการที่จะทำการเข้ารหัสอีเมล์ หากไฟล์หรือคีย์แพร์นี้ถูกติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ผู้ใช้ก็จะไม่สามารถถอดรหัสอีเมล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์จากที่ทำงานได้ ดังนั้นวิธีแก้ไขคือ ควรติดตั้งหรือเก็บไฟล์คีย์แพร์นี้เอาไว้บน USB  ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถถอดรหัสอีเมล์ที่ต้องการและเรียกใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
คีย์แพร์นั้นประกอบไปด้วยคีย์ทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ พับลิคคีย์ (Public Key) และซีเคร็ทคีย์ (Secret Key)
พับลิคคีย์เป็นไฟล์ที่ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้เป็นความลับ ผู้ใช้งานสามารถบอกหรือให้คีย์นี้แก่บุคคลอื่นๆ เพื่อที่พวกเขาเหล่านั้นจะสามารถส่งอีเมล์ที่มีการเข้ารหัสมาหาผู้ใช้ได้
 ซีเคร็ทคีย์ไฟล์นี้คือไฟล์ลับที่ผู้ใช้จะต้องใช้ในการถอดรหัสอีเมล์ที่บุคคลอื่นๆส่งมาให้ ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่ควรบอกหรือมอบให้แก่บุคคลอื่น
หากผู้ใช้มีเพื่อนร่วมงาน 5 คน และต้องส่งอีเมล์ถึงพวกเขาเหล่านั้น ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องทราบ    พับลิคคีย์ของพวกเขาแต่ละคนในการที่ส่งอีเมล์ไปหาพวกเขา โดยพวกเขาเหล่านั้นสามารถบอกพับลิคคีย์ของเขาโดยการส่งอีเมล์  หรือบอกกับผู้ใช้โดยตรงตัวต่อตัวหรือเขียนบอกเอาไว้บนเว็บไซต์ก็ย่อมได้ ตราบใดที่ผู้ใช้สามารถเชื่อได้ว่าพับลิคคีย์เหล่านั้นมาจากเพื่อนหรือจากคนที่ผู้ใช้ต้องการจะติดต่อสื่อสารด้วยจริงๆ เมื่อได้พับลิคคีย์ของพวกเขามาแล้วระบบซอฟต์แวร์จะทำการเก็บคีย์เหล่านี้ไว้ใน คีย์ริง (Keyring) และเมื่อผู้ใช้ทำการส่งอีเมล์ไปหาพวกเขาเหล่านั้น ระบบก็จะทำการจับคู่การเข้ารหัสที่ถูกต้องกับคีย์ของพวกเขาเพื่อให้อีเมล์นั้นไปถึงยังปลายทางหรือผู้รับที่ต้องการโดยปลอดภัย  

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต


3.บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

oooooบริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม
oooooเป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)
1
2. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)
oooooจดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mailเป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
oooooองค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name
oooooการใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
2